บทความน่ารู้
- ความเครียด
- นอนไม่หลับ (Sleep problem)
- โรคซึมเศร้า
ตอนที่ 1
ตอนที่ 2
ตอนที่ 3
ตอนที่ 4
- โรคจิต….คืออะไร
- การผ่อนคลายความเครียด
- ลูกขาดวินัย ทำอย่างไรดี
- โรคแพนิค
- ไมเกรน
- วิธีเลิกสูบบุหรี่ด้วยตนเอง
- เมื่อลูกรักเป็นเด็กสมาธิสั้น
- อกหักเรื่องจี๊ด ๆ
-โรคย้ำคิดย้ำทำ
โรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว |
โรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว คืออะไร
“โรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว” มีชื่อภาษาอังกฤษ ว่า “โรคไบโพล่าร์ (Bipolar disorder)” เป็นโรคที่มีอาการผิดปกติที่สำคัญทางอารมณ์ 2 แบบ คือ ภาวะแมเนีย (เปรียบเสมือนขั้วบวก) และภาวะซึมเศร้า ( เปรียบเสมือนขั้วลบ) การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์นี้จะเกิดเป็นช่วงเวลาหนึ่งติดต่อกันหลายวัน จนรบกวน การทำงานของจิตใจและความสามารถด้านต่าง ๆ
อาการเป็นอย่างไร
ระยะซึมเศร้า (ขั้วลบ) ผู้ที่เป็นจะรู้สึกเบื่อหน่ายไปหมด ซึมเศร้า อารมณ์อ่อนไหวง่าย ร้องไห้ บางคนจะหงุดหงิด แม้แต่อาหารการกินก็ไม่สนใจ น้ำหนักลด ความจำก็แย่ลง เพราะใจลอย ตัดสินใจอะไรก็ไม่ได้ เพราะไม่มั่นใจไปเสียหมด เขาจะมองสิ่งต่างๆ ในแง่ลบไปหมด จนเกิดความคิดฆ่าตัวตายได้ อาการในภาวะซึมเศร้านี้จะต้องติดต่อกันตลอดเวลา นานอย่างน้อย 2 สัปดาห์ จึงจะสินิจฉัยภาวะซึมเศร้าได้ ( ซึ่งก็ต้องมาดูอาการอีกว่าเป็นโรคซึมเศร้าอย่างเดียวหรือเป็นภาวะซึมเศร้าในโรคอารมณ์แปรปรวน)
ระยะเมเนีย (ขั้วบวก) อาการจะเปลี่ยนไปอีกขั้วหนึ่งเหมือนไม่ใช่คนเดียวกันกับช่วงที่มีภาวะซึมเศร้าเลย มั่นใจตัวเองมาก รู้สึกว่าตัวเองเก่ง ความคิดไอเดีย แล่นกระฉูด การพูดจาจะลื่นไหลพูดเก่ง คล่องแคล่ว ใช้จ่ายเกินตัว นอนดึก วอกแวกมาก ทำงานเยอะ แต่ก็ไม่เสร็จเป็นชิ้นเป็นอันสักอย่าง อยากจะทำอะไรต้องทำทันที หากมีใครมาห้ามจะโกรธรุนแรง ถ้ามีอาการแมเนียติดต่อกันตลอดเวลาเป็ฯระยะเวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์ สามารถวินิจฉัยว่าเป็น โรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว ได้เลย
เปรียบเทียบอาการป่วยในแต่ละช่วงให้เห็นความแตกต่างดังนี้ค่ะ
อาการในระยะซึมเศร้า |
อาการในระยะแมเนีย |
มีอาการซึมเศร้า หรือเบื่อหน่าย ความสนใจหรือความเพลินใจในสิ่งต่างๆ ลดลงอย่างมาก |
มีอารมณ์ครึกครื้น แสดงออกอย่างเต็มที่ หรืออารมณ์หงุดหงิดมากเกินปกติ |
รู้สึกตนเองไร้ค่า เป็นภาระ หรือรู้สึกผิด |
รู้สึกว่าตนเองเก่ง หรือมีความสำคัญมาก |
นอนไม่หลับ หรือนอนมากกว่าปกติ |
ต้องการนอนลดลง |
เชื่องช้า หรือกระวนกระวาย |
ความคิดพรั่งพรู แล่นเร็ว |
อ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง |
มีพลัง มีกิจกรรม โครงการต่างๆ มากมาย |
สมาธิลดลง ลังเลใจ |
วอกแวก สนใจไปทุกสิ่งทุกอย่าง |
คิดอยากตาย |
หุนหันพลันแล่น ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย |
เบื่ออาหาร ผอมลง |
พูดมาก หรือพูดไม่หยุด |
ยังตระหนักว่าตนเองผิดปกติไปจากเดิม (บางราย) |
ไม่ตระหนักว่าตนเองผิดปกติไปจากเดิม |
ระยะเวลาที่ป่วยในแต่ละช่วง จะใช้เวลานานประมาณ 2 สัปดาห์จนถึงหลายเดือนและสามารถกลับมาเป็นปกติได้ และก็จะกลับมาป่วยอีก เป็นวงจรไปเรื่อยๆ ตามแผนภูมิดังนี้ค่ะ
โรคนี้เป็นกันบ่อยไหม
พบว่ามีโอกาสป่วยเป็นโรคนี้ประมาณร้อยละ 1 หญิงและชายพบได้พอๆ กัน มักพบมีอาการครั้งแรกระหว่างอายุ 15-24 ปี
สาเหตุของโรคอารมณ์สองขั้วเกิดจากอะไร
พบว่าผู้ที่เป็นโรคนี้มีการทำงานของสมองและสารเคมีในสมองซึ่งทำหน้าที่สื่อสารระหว่างเซลล์ประสาทแปรปรวนไป และ มักมีประวัติญาติป่วยเป็นโรคทางอารมณ์ ผู้ที่มีแนวโน้มจะเป็นเหล่านี้พบเหตุกดดันทางจิตใจ เช่น ตกงาน ญาติเสียชีวิต การเสพยา ก็จะไปกระตุ้นให้แนวโน้มการเกิดโรคที่แฝงอยู่นี้แสดงอาการ
แนวทางการรักษา
การรักษาด้วยยา ร่วมกับการช่วยเหลือให้คำปรึกษาทางจิตใจเพื่อช่วยผู้ที่เป็นในการปรับตัวกับสังคม และจัดการกับปัญหาต่างๆ ในชีวิต
1. การรักษาในระยะอาการกำเริบ
โดยทั่วไปหากเป็นการป่วยครั้งแรกหลังจากที่แพทย์รักษาจนผู้ป่วยอาการกลับสู่ปกติแล้ว จะให้ยากินต่อไปอีกจนครบ 6 เดือน แล้วค่อยๆ ลดยาลงจนหยุดไป โดยทั่วไปก็ใช้เวลาประมาณปี หากหยุดยาเร็วจะมีโอกาสกลับมามีอาการกำเริบอีกสูงมากเพราะตัวโรคยังไม่ทุเลาลงเต็มที่
2. การป้องกันการกลับมาป่วยอีก
ผู้ที่มีอาการกำเริบเกิน 2 รอบ ที่มีอาการติดต่อกันนานเป็นเดือน และอาการรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นแบบเมเนียหรือซึมเศร้า ควรกินยาป้องกันระยะยาว โดยทั่วไปแพทย์จะให้กินนานอย่างน้อย 2 ปีขึ้นไป
การกินยาอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้สามารถควบคุมอาการได้ดี รวมทั้งสามารถป้องกันการกำเริบในครั้งต่อไป และควรพบแพทย์ตามนัดเพื่อประเมินผลการรักษาตลอดจนผลข้างเคียงจากยา แพทย์อาจปรับยาเป็นช่วงๆ ตามแต่อาการของโรค ควรบอกแพทย์อย่างไม่ปิดบังถึงอารมณ์และพฤติกรรมต่างๆ โดยเฉพาะหากไม่แน่ใจว่าเป็นช่วงที่อารมณ์เปลี่ยนแปลงหรือไม่
การดูแลตนเองเมื่อเป็นโรตคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว
- การรักษาความสม่ำเสมอในการดำเนินกิจวัตรพื้นฐานประจำวัน ประเด็นที่สำคัญที่สุดคือเรื่องการนอน พบว่าการนอนน้อยติดต่อกันหลายวันทำให้อาการแกว่งไกวได้ จึงควรเข้านอนและตื่นนอนให้เป็นเวลา หลีกเลี่ยงการนอนดึก หรือดื่มแอลกอฮอล์
- เลี่ยงการตัดสินใจที่สำคัญๆ เช่นการลาออกจากงาน การลงทุน การย้ายที่อยู่ เป็นต้นหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่กระตุ้นอารมณ์มากๆ ให้คนใกล้ชิดและญาติคอยเตือนเมื่อเห็นว่าตนเองมีพฤติกรรมที่อาจไม่เหมาะสม
- ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะรู้สึกว่าจิตใจคลายความเศร้า และแจ่มใสขึ้นได้
|