Home
| about us | เวชสำอางค์ | บทความ-สาระน่ารู้ |ติดต่อสอบถาม | แผนที่


 

ภาวะปัญญาอ่อน / บกพร่องทางสติปัญญา

โดย พญ.ธรรมิกา  เทพพาที

ภาวะ ปัญญาอ่อน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต         


เด็กที่มีปัญหา “บกพร่องทางสติปัญญา”  หรือที่เรียกกันสมัยก่อนว่า “ปัญญาอ่อน”  มักมีพัฒนาการด้านร่างกาย สังคม อารมณ์ ภาษาและสติปัญญาล่าช้ากว่าเด็กทั่วไป
หมายความว่า เด็กที่มีภาวะนี้จะมีอาการเบื้องต้นดังนี้

  • มีระดับเชาวน์ปัญญาต่ำกว่า 70
  • การปฏิบัติตนในชีวิตประจำวันทั่วๆ ไป บกพร่องกว่าวัยเดียวกัน เช่น การสื่อความหมาย  การดูแลตนเอง การดำรงชีวิตภายในบ้าน  การปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในสังคม   การควบคุมตนเอง
    การมีสุขอนามัยและความปลอดภัยเบื้องต้น เป็นต้น

อายุที่แสดงภาวะบกพร่องทางสติปัญญาหรือปัญญาอ่อน 
ต้องแสดงก่อนอายุ 18 ปี แต่อย่างไรก็ตามเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ปี ที่มีอาการแสดงภาวะบกพร่องทางสติปัญญา ควรได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะบกพร่องทางพัฒนาการและควรติดตามการวินิจฉัยต่อไปเมื่อเด็กอายุมากขึ้น
          โดยทั่วไปพบร้อยละ 1-3 ของประชากร ในประเทศไทยพบความชุกของภาวะบกพร่องทางสติปัญญาประมาณร้อยละ 0.4-4.7 ซึ่งมีความแตกต่างกันในแต่ละรายงานขึ้นอยู่กับเกณฑ์การวินิจฉัย การออกแบบการวิจัย และวิธีการศึกษา
อาการของเด็กกลุ่มนี้มีอะไรบ้าง 

  • ภาวะบกพร่องทางสติปัญญาระดับรุนแรงมาก 

พัฒนาการล่าช้าชัดเจนตั้งแต่เล็กๆทั้งในด้านประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว   อาจจะฝึกการช่วยเหลือตนเองได้บ้าง แต่ต้องอาศัยการฝึกอย่างมาก ส่วนใหญ่พบว่ามีพยาธิสภาพ ต้องการการดูแลตลอดเวลา ตลอดชีวิต 

  • ภาวะบกพร่องทางสติปัญญาระดับรุนแรง  

พบความผิดปกติของพัฒนาการตั้งแต่ขวบปีแรก มักมีพัฒนาการล่าช้าทุกด้าน โดยเฉพาะพัฒนาการด้านภาษา สื่อความหมายได้เพียงเล็กน้อยหรือพูดไม่ได้เลย บางรายเริ่มพูดได้เมื่อเข้าสู่วัยเรียน  มีปัญหาในการเคลื่อนไหว มีความจำกัดในการดูแลตนเอง ทำงานง่ายๆได้  ส่วนใหญ่ต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิดหรือต้องช่วยในทุกๆด้านอย่างมาก ตลอดชีวิต

  • ภาวะบกพร่องทางสติปัญญาระดับปานกลาง  

มักได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่วัยก่อนเรียน เมื่ออายุประมาณ 2-3 ปี  มักต้องการการจัดการศึกษาพิเศษ สามารถเรียนรู้การเดินทางตามลำพังได้ในสถานที่ที่คุ้นเคย ใช้ชีวิตในชุมชนได้ดีทั้งการดำรงชีวิตและการงาน แต่ต้องการความช่วยเหลือปานกลาง ตลอดชีวิต

  • ภาวะบกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อย 

มักได้รับการวินิจฉัยเมื่อเด็กเข้าสู่วัยเรียนแล้ว เนื่องจากในวัยก่อนเรียนพัฒนาทักษะทางสังคมและการสื่อความหมายได้เพียงพอ  ส่วนใหญ่เรียนได้ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือสูงกว่า เมื่อเป็นผู้ใหญ่สามารถทำงาน แต่งงาน ดูแลครอบครัวได้ แต่อาจต้องการความช่วยเหลือบ้างเป็นครั้งคราว 
การช่วยเหลือเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา

  • การฟื้นฟูทางการแพทย์

ได้แก่ การส่งเสริมป้องกัน บำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ นอกจากการส่งเสริมสุขภาพ เช่น รักษาความผิดปกติที่อาจพบร่วมด้วย เช่น โรคลมชัก โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด  หรือภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมน ส่งเสริมพัฒนาการเพื่อพัฒนาทักษะด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา ภาษา

  • การฟื้นฟูทางการศึกษา

จัดการการศึกษาโดยมีแผนการศึกษาสำหรับแต่ละบุคคล ซึ่งอาจเป็นการเรียนในชั้นเรียนปกติ เรียนร่วม หรือมีการจัดการศึกษาพิเศษ

  • การฟื้นฟูทางอาชีพ
ฝึกวิชาชีพและลักษณะนิสัยที่ดีในการทำงาน ได้แก่ ฝึกการตรงต่อเวลา รู้จักรับคำสั่งและนำมาปฏิบัติเอง    

ติดวัดเมืองใหม่ ริม ถ.พระยาสัจจา อ.เมือง จ.ชลบุรี

Tel 087-992-6993