แบบทดสอบวัดระดับการติดสารนิโคติน
- โดยปกติคุณสูบบุหรี่กี่มวนต่อวัน
10 มวนหรือน้อยกว่า (0 คะแนน)
11-20 มวน (1 คะแนน)
21-30 มวน (2 คะแนน)
31 มวนขึ้นไป (3 คะแนน)
- หลังตื่นนอนตอนเช้าคุณสูบบุหรี่มวนแรกเมื่อไหร่
ภายใน 5 นาทีหลังตื่น (3 คะแนน)
6-30 นาทีหลังตื่น (2 คะแนน)
31-60 นาทีหลังตื่น (1 คะแนน)
มากกว่า 60 นาที หลังตื่น (0 คะแนน)
- คุณสูบบุหรี่จัดในชั่วโมงแรกหลังตื่นนอน (สูบมากกว่าในช่วงอื่นของวัน)
ใช่ (1 คะแนน)
ไม่ใช่ (0 คะแนน)
- สูบบุหรี่มวนไหนที่คุณไม่อยากเลิกมากที่สุด
มวนแรกในตอนเช้า (1 คะแนน)
มวนอื่นๆ (0 คะแนน)
- คุณรู้สึกลำบากหรือยุ่งยากไหมที่ต้องอยู่ในเขต "ปลอดบุหรี่" เช่น โรงภาพยนตร์ รถเมล์ ร้านอาหาร
รู้สึกลำบาก (1 คะแนน)
ไม่รู้สึกลำบาก (0 คะแนน)
- คุณยังต้องสูบบุหรี่ แม้จะเจ็บป่วยนอนพักตลอดในโรงพยาบาล
ใช่ (1 คะแนน)
ไม่ใช่ (0 คะแนน)
การแปลผลคะแนนที่ได้
ถ้าคะแนนของคุณเท่ากับ 0-3
ไม่นับว่าคุณติดสารนิโคติน คุณสามารถเลิกสูบบุหรี่ได้ด้วยตนเอง หากคุณเคยล้มเหลวจากการพยายาม เลิกด้วยตนเอง คุณอาจลองใช้พฤติกรรมบำบัดบางอย่างช่วยเสริม
ถ้าคะแนนของคุณเท่ากับ 4-5
คุณติดนิโคตินในระดับปานกลาง คุณสามารถเลิกสูบบุหรี่ได้ด้วยตนเอง หากคุณเคยล้มเหลวจากการ พยายามเลิกด้วยตนเอง คุณอาจลองใช้พฤติกรรมบำบัดบางอย่างช่วยเสริม
ถ้าคะแนนของคุณเท่ากับ 6-7
คุณติดนิโคตินระดับปานกลาง และมีแนวโน้มอย่างมากในการพัฒนาไปเป็นการติดนิโคตินในระดับสูง การเลิกสูบบุหรี่เสียตั้งแต่วันนี้ จะทำได้ง่ายกว่าการที่คุณยังสูบต่อไป และจะมีแผนเลิกในอนาคต หากคุณเคยล้มเหลวจากการพยายามเลิกบุหรี่ด้วยตนเองหรือร่วมกับการใช้พฤติกรรมบำบัดเสริม คุณควรอย่างยิ่งที่จะไปพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษา เพื่อการเลิกสูบบุหรี่
ถ้าคะแนนของคุณเท่ากับ 8-9
คุณติดสารนิโคตินระดับสูงมาก คุณควรใส่ใจและให้ความสำคัญกับสุขภาพของคุณ และเอาจริงเอาจังในการเลิกบุหรี่เพื่อชีวิตที่ดีขึ้น สำหรับคุณการเลิกบุหรี่ด้วยตนเอง หรือการใช้แค่เพียงกำลังใจอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอในการรักษา หากคุณเคยล้มเหลวจากการพยายามเลิกบุหรี่ด้วยตนเองหรือร่วมกับการใช้ พฤติกรรมบำบัดเสริม หรือวิธีอื่นๆ รวมทั้งการใช้แผ่นแปะนิโคตินหรือหมากฝรั่งนิโคตินมาแล้ว กรณีนี้ท่านควรพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาเพื่อการเลิกบุหรี่
ถ้าคะแนนของคุณเท่ากับ 10
คุณติดนิโคตินในระดับที่สูงสุด คุณควรใส่ใจและให้ความสำคัญกับสุขภาพของคุณ และเอาจริงเอาจังในการเลิกบุหรี่เพื่อชีวิตที่ดีขึ้น สำหรับคุณการเลิกบุหรี่ด้วยตนเอง หรือการใช้แค่เพียงกำลังใจอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ หากคุณเคยล้มเหลวจากการพยายามเลิกบุหรี่ด้วยตนเองหรือร่วมกับการใช้พฤติกรรมบำบัดเสริม หรือวิธีอื่นๆ รวมทั้งการใช้แผ่นแปะนิโคตินมาแล้ว กรณีนี้ท่านควรพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษา เพื่อการเลิกบุหรี่
โดย
พญ. ธรรมิกา เทพพาที

|